นโยบายวัฒนธรรมของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
นโยบายวัฒนธรรมเป็นนโยบายหนึ่งที่สำคัญที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีการเสนอและนําไปใช้เพื่อบริหารงานวัฒนธรรมของประเทศ ทว่ามักไม่ได้อยู่ในความสนใจมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายด้านอื่น ๆ บทความนี้จึงมุ่งศึกษานโยบายวัฒนธรรมของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เพื่อศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในนโยบายที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ศึกษาความสืบเนื่องของนโยบายวัฒนธรรมจากรัฐบาลที่ผ่านมา และศึกษาอิทธิพลจากแนวคิดต่าง ๆ ที่ปรากฏในนโยบายวัฒนธรรม โดยการศึกษาเอกสารจากคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาพบว่า นโยบายวัฒนธรรมของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร มุ่งเน้นนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมอำนาจละมุนของประเทศ ผ่านนโยบายการมุ่งจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA) และนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟท์พาวเวอร์ (OFOS) ซึ่งเป็นการสานต่อจากรัฐบาลที่ผ่านมาและมีการต่อยอดนโยบายควบคู่กับเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงยังมีนโยบายการเคารพพหุวัฒนธรรมในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และนโยบายวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ ซึ่งมุ่งจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และมุ่งให้สถาบันศาสนาเป็นกลไกสำคัญในการสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชน โดยนโยบายวัฒนธรรมของรัฐบาลได้สะท้อนถึงแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิดอำนาจละมุน และแนวคิดชาตินิยม ทั้งนี้ นโยบายวัฒนธรรมของรัฐบาลมีเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบาย แต่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นมิติกระบวนการของนโยบาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://www.m-culture.go.th/th/history
กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2564). จาก OTOP ถึง OTOP นวัตวิถี: นโยบายการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นฐาน?. วารสารไทยคดีศึกษา, 18(2), 114 - 146.
กุลธน ธนาพงศธร. (2520). ปัจจัยในการกำหนดนโยบายของรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์, 14(1), 73 - 88.
กรมประชาสัมพันธ์. (2566). Soft Power (5F) ไทยดึงดูดใจนักท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://thailand.go.th/issue-focus-detail/001_02_ 070?hl=th
กรมศิลปากร. (ม.ป.ป.). ประวัติและบทบาทหน้าที่. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จากhttps://www.finearts.go.th/main/categorie/history
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566. (2566). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 140 ตอนพิเศษ 221 ง หน้า 1 - 41 (11 กันยายน 2566).
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567. (2567). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 251 ง หน้า 1 - 64 (12 กันยายน 2567).
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพมหานคร: สารธาร.
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566ก). เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 140 ตอนที่ 23 ก หน้า 4 (22 มีนาคม 2566).
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2566ข). เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 140 ตอนที่ 36 ก หน้า 36 - 40 (20 มิถุนายน 2566).
ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2566ค). เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง. ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 140 ตอนที่ 36 ก หน้า 41 - 62 (20 มิถุนายน 2566).
ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. (2566). ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 201 ง หน้า 1 (23 สิงหาคม 2566).
ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี. (2567). ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 224 ง หน้า 1 (18 สิงหาคม 2567).
ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2567). ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 220 ง หน้า 1 - 3 (4 กันยายน 2567).
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2567). ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 1 (13 ตุลาคม 2561).
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2565). ปัจจัยการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), A84 - A93.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเษกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 - 90 (6 เมษายน 2560).
วิริยะ สว่างโชติ. (2561). อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559). กรอบแนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(33), 1 - 16.
สิทธิชัย สุขคะตะ และ ณัฐวีณ์ บุนนาค. (2558). การวิเคราะห์วาทกรรมชาตินิยมไทยในแบบเรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์, วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(1), 126 - 137.
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2564). Thailand’s Creative Movement Report 2021 รายงานความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน).
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). รู้จักสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://www.cea.or.th/ th/background
Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public Policy. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Nye J. (2004). Soft power: The means to success in world politics. New York: Public Affairs.
THACCA. (2567). คณะกรรมการและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://thacca.go.th/committee/