บทบาทการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ขจรยศ นพมณีวรรณ์
สุกิจ ชัยมุสิก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาประโยชน์และคุณค่าการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนาความ
          ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรสำนักงานล้วนมีการปฏิบัติงานภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับที่โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559 ได้กำหนดไว้ 2. บุคลากรล้วนมีการนำเอาหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน คือ มีการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมาขยันหมั่นเพียร อดทนอดกลั้น และจริงใจให้แก่กันในขณะทำงาน สามารถควบคุมอารมณ์จิตใจตนเองโดยใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี ทั้งมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 3. บุคลากรล้วนเห็นว่าหลักฆราวาสธรรมมีประโยชน์และคุณค่าต่อการปฏิบัติงานอย่างมากเพราะสามารถนำมาใช้ลดความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในการทำงาน ให้งานทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นจากการเป็นคนซื่อสัตย์จริงใจ อดทนอดกลั้น รู้จักใช้สติยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ข่มจิตใจแล้วนำพิจารณาปรับปรุงตนตลอดเวลา ทั้งมีความเสียสละ โอบอ้อมอารีเป็นที่พึงให้คนอื่น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุให้การครองเรือนและการครองงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่หวังไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการประกันสังคม พ.ศ. 2559

กิติพันธ์ รุจิรกุล. (2529). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2529). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์.

ประกอบ มีโคตรกอง. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ที่เกี่ยวกับเยาวชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปราชญา กล้าผจัญ (2540). พฤติผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริณดา บรรดาศักดิ์ และ ภัทรนันท สุรชาตรี. (2567). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสํานักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(4), 337.

พระใบฏีกาณัฏฐพร ฐานวุฑฺโฒ. (2554). บทบาทของพระสงฆ์กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม. ในวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระปัญญา ฐานิสฺสโร (บุญโสม). (2560). การศึกษาหลักฆราวาสธรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. ศน.บ. (พุทธศาสนาและปรัชญา). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พิทยา บวรวัฒนา. (2552). รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ. 1887-1970). (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเพทมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ว. วชิระเมธี (2551). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับบลิชชิ่ง จำกัด.

วีณา ขําคง. (2564). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สงวนศรี วิวัชชัย (2540). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.

สมพงษ์ เกษมสิน (2526). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สิรินภา ทาระนัด. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.