การปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กนกพร วิมลตระกูล
สุกิจ ชัยมุสิก

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์  อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One – Way ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)
          ผลการวิจัยพบว่า การปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ  ด้านการออกระเบียบตามหลักสังคหวัตถุ 4  ด้านการลงโทษตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ ด้านการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามลำดับ โดยพนักงานมหาวิทยาลัยที่มี เพศ การศึกษา และอายุการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองเกี่ยวกับการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ไม่แตกต่างกัน และพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองเกี่ยวกับการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ แก่นสาร. (2551). หลักการคิดอย่างมีเหตุผลและกระบวนการตกลงใจ. นครปฐม: สถาบัน วิชาการการทหารขั้นสูง.

พระวิทย์ธวัช จิรธมฺโม (หวานสนิท). (2558). การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการให้บริการประชาชนของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิสิทธิ์ ขจรภพ. (2561). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมยศ จุลวัฒน์. (2559). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ในการนำหลักสังคหวัตถุธรรมมาใช้ปฏิบัติงานในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุวันนา คำบุศย์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของสำนักงานขนส่ง จังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอโพนทอง. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.