การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทคณะกรรมการหมู่บ้านส่งผลต่อการบริหาร ความขัดแย้งในเขตตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านและการบริหารความขัดแย้งในเขตตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วย 3 ส่วน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการศึกษา พบว่า
- การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.72, S.D.= .97)เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหมู่บ้าน (x ̅=4.15, S.D.= .83) และรองลงมา คือการประสานจัดทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกับคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการหรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (x ̅= 4.03, S.D.= .83) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ จัดการตามหมายสั่งให้ค้นหรือให้ยึดของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (x ̅= 2.56, S.D.= 1.35)
- การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตตำบลนาคู อำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาผลว่าเพศ และระดับการศึกษามีความแตกต่างกันกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตตำบลนาคู อำเภอนาคูจังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ส่วนอายุและประสบการณ์ทำงานไม่มีความแตกต่างกันกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการปกครอง. (2539). คู่มือพนักงานส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
กรมการปกครอง. (2556 ก). คู่มือการฝึกอบรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้รับเลือกใหม่ ประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน สำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.
กิตติศักดิ์ ปลาทองและคณะ. (2554). การจัดการความขัดแย้งของชุมชนตลาดพาหุรัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานตรวจสอบติดตามและส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
ชูวงศ์ อุบาลี (2558). การจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นาในชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษา เขตพื้นที่ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 5(1), 181-195.
ณัฐสุภา จิระภิญโญ. (2553). การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อกระบวนการให้บริการเงินฝากของธนาคารออมสินสาขาราชดำเนิน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์. (2556). สภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหาจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท. (2554). ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. Evaluation Comment, (2), 1-5.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.