การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวปี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาคนภาพชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญคนพิการถือได้เป็นบุคคลที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพแต่สิทธิต่าง ๆ ยังเท่ากับบุคคลทั่วไป แต่ในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประชากรของประเทศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในจำนวนประชากรดังกล่าวนี้ มีประชากรกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ และ 3) แนวทางการพัฒนาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 367 คน และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า : 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 2) ตัวแปรด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (X3) และตัวแปรด้านสภาพแวดล้อม (X4) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปวนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 7.97 และ 3) การไม่ได้รับการเอาใจใส่จากบุตรหลานในครอบครัว การไม่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสุขภาพร่างกายของผู้พิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยเอาใจใส่ในการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การเสริมสร้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายไม่ทั่วถึง ภาคีเครือข่ายเขามาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้พิการไม่มากเท่าที่ควร และแนวทางแก้ไขยังบกพร่องอย่างมาก บริบทของสังคมมีสภาพแวดล้อมไม่ดีมีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา เนื่องจากบุตรหลานต้องไปทำงานต่างพื้นที่ปล่อยให้คนพิการต้องใช้ชีวิตตามลำพังและไม่มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
กมลพรรณ พันพึ่ง. (2551). ไอแอล การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ. นนทบุรี: สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย.
กันรญาณี ศรีสุรักษ์. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพลู ตาหลวงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยวัฒน์ ปันม่วง, สุรศักดิ์ บุญเทียน, ณัฐพล บ้านไร่, และวรัญญา เผือกเพ็ง. (2563). คุณภาพชีวิตผู้พิการ ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก. รายงานการประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 19 “นวัตกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 27 – 30 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง.
ทับทิม ศรีวิไล, ภมร ขันธะหัตถ์, และ ธนิศร ยืนยง. (2565). การบริหารการพัฒนาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในเขตภาคกลาง. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 49 พฤศจิกายน – ธันวาคม 2565 - TCI กลุ่มที่ 1 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2564-2567 หน้า 371-385.
ธิดารัตน์ นงค์ทอง, พิมพา ขจรธรรม. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนพิการรุนแรงทางร่างกายและการเคลื่อนไหว วารสารพัฒนาสังคม 19(2), 113 – 131.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2567). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สุงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 11(1), 63-73.
พัทยา สายหู. (2556). ความหมายของคุณภาพชีวิต. คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์:กรณีศึกษานกัศึกษาเขา้ใหม่ปีการศึกษา 2555. ทุนการวิจัยวิทยาลัยราชพฤกษ์.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารหมาจุฬานาครทรรศน์. 6(5), 2459-2480.
ลุบนา นิยมเดชา, เดชา สีดูกา, ณัฐริตา นาคสวาท. (2560). การเข้าถึงความต้องการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการราชภัฏรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ครั้งที่ 2 หน้า 434-448.
สำราญ จูช่วย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ : กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ปีการศึกษา 2555. รายงานการวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุเวช ทรงอยู่สุข. (2550). แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพกิารโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. รายการศึกษาอิสระปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2550). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ. สำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. 2550. รายงานการศึกษาวิจัย โครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในประเทศไทย.
อนล ศรีสาราญ. (2559). การเข้าถึงสิทธิของคนพิการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย. สารนิพนธ์หลักสูตรสาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Guskey, T. (1996). Reporting on student learning. Lessons from the past — prescriptions for the future. In T. Guskey. (Ed.), Communicating student learning: The 1996 ASCD yearbook (pp. 13-24).
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York.Harper and Row Publications.