วิสัยทัศน์เมืองน่าอยู่และยุทธศาสตร์การพัฒนากับภาคประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ดนัย ลามคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู  2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อเสนอมาตรการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม โดยใช้สูตรของ Taro Yamane  จำนวน 381 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์เมืองน่าอยู่และยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชน ประกอบไปด้วยเนื้อหา 4 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 ผลการศึกษาพบว่า


  1. ด้านวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชน ด้านวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 42.26 ด้านวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชน ด้านวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม คือชาวตำบลบ้านขามมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 33.60 ด้านวิสัยทัศน์ด้านกายภาพผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชน ด้านวิสัยทัศน์ด้านกายภาพ คือชาวตำบลบ้านขามได้รับการบริการของภาครัฐ/ท้องถิ่น เช่น นํ้า ไฟ ถนน อย่างเพียงพอ ต่อความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 41.47 และด้านวิสัยทัศน์ด้านสังคมและความปลอดภัยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชน ด้านวิสัยทัศน์ด้านสังคมและความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 35.43

  2. การพัฒนาของภาคประชาชนเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่โดยภาพรวมยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ( = 3.58, S.D.= 0.68) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ มียุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่ อยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D.= 0.78) รองลงมาคือด้านด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 3.90, S.D.= 0.85) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสังคม

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิสัยทัศน์เมืองน่าอยู่และยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า มีผู้ให้ข้อเสนอแนะ จำนวน 65 คน ซึ่งผู้วิจัยสรุปประเด็นสำคัญและแบ่งออกเป็นประเด็นข้อดังนี้ ได้แก่ 1. การพัฒนากิจกรรม นำร่อง ต้องคำนึงในด้านปัญหาความ ต้องการที่ชุมชนให้ความสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การมีส่วนร่วม และการให้ความสำคัญในกิจกรรมการ พัฒนาชุมชนเพิ่มมากขึ้น 2. สำหรับการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ประเด็นการสร้างความเชื่อมั่น ในศักยภาพชุมชน จะนำไปสู่การริเริ่มจากตนเองเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาชุมชนของตนเอง 3. ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) จากสินค้าบริการและการท่องเที่ยว ตลอดจนสนับสนุนบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะทางศิลปะในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า การ ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดนัย ลามคำ , คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสศาตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

lecturer

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2547). พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546. ฉะเชิงเทรา: ประสานมิตร.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2546. ภาพอนาคตและคุณลกัษณะของคนไทยที่พึ่งประสงค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ฐิติวุฒิ สุนนานนท์. (2546). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพกลุ่มภาคกลาง.แนวคิดเมืองน่าอยู่. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย.

ชัยนาท จิตตวัฒนะ. (2540). การอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยและสิ่งแวดล้อม เขต 3. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจํากัด.

สุภโชค กลมกลาง. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ของเทศบาลตําบลศาลเจ้าพ่ออําเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. ใน การศึกษาอิสระรป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อาทิตย์ สุขประเสริฐ. (2558). วิสัยทัศน์เมืองน่าอยุ่และยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคประชาชนในเขตเทศบาลตําบลปากน้ำประแส อําเภอแกลง จังหวัดระยอง.ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. (2565). สภาพและข้อมูลพื้นฐานตำบลบ้านขาม.จังหวัดหนองบัวลำภู : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York : Harper and Row Publications.