การศึกษาเชิงวิเคราะห์พฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทย ปี พ.ศ. 2557 จนถึง พ.ศ. 2565

Main Article Content

ภาวพรรณ กิจประเสริฐ
เกษฎา ผาทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมือง และศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ระหว่างปี พ.ศ. 2557 กับ ปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งวิเคราะห์การแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ พ.ศ. 2557 กับ ปี พ.ศ 2565 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยเอกสาร


  ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองมีผลมาจากการบริหารงานของรัฐบาลในแต่ละสมัยที่ไม่ได้ประสิทธิภาพพึงพอใจกับความต้องการของประชาชน ซึ่งการแสดงออกทางการเมืองมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ 2) พฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2557 เป็นปีที่มีการทำรัฐประหาร แต่ภายหลังจากการทำรัฐประหาร มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งได้ออกมาเรียกร้องและชุมนุม ในการชุมนุมของเยาวชนได้มีทั้งบุคคลธรรมดา นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งพระสงฆ์เข้าร่วมชุมนุมด้วย ในเกือบทุก ๆ การชุนนุมของกลุ่มเยาวชน 3) พระสงฆ์ก็ได้มีการออกมาแสดงความคิดเห็นให้เห็น ในปี พ.ศ. 2557 เป็นปีที่มีการทำรัฐประหาร ซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และในปีนั้นได้มีคำสั่งไม่ให้มีการชุมนุมเกิดขึ้น และการวิเคราะห์การแสดงออกทางการเมืองของพระสงฆ์ พ.ศ. 2565 อยู่ภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้พระสงฆ์ออกมาแสดงออกทางการเมือง เนื่องมาจากการที่รัฐบาลไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้โดยอิสระ ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มฝ่ายในการสนับสนุนและต่อต้านการดำเนินงานของรัฐบาล โดยพระสงฆ์ก็ได้ออกมามีส่วนร่วมด้วย ทั้งร่วมเดินขบวนประท้วง การแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองผ่านโซเชี่ยล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษฎา ผาทอง. (2564). ข้อจํากัดทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(4), 67-70.

ฐปนรรต พรหมอินทร์ และ จุมพล หนิมพานิช. (2549). พฤติกรรมทางการเมืองขององค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พระครูพิสัยปริยัติกิจ. (2562). พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 218.

พระอธิการภูมิสิษฐ์ ปิยสีโล และ นัชพล คงพันธ์. (2564). พระสงฆ์กับการเมืองไทยในบริบทสังคมปัจจุบัน. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(2), 41.

วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2541) พระสงฆ์กับการเมือง: แนวคิดและบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2548). วัฒนธรรมทางการเมืองกับพฤติกรรมทางการเมืองไทย ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการเมืองการปกครองไทย หน่วยที่ 11 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2561). รัฐ กับศาสนา ศีลธรรม อำนาจ และอิสรภาพ. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

อนุชา พละกุล. (2563). การวิเคราะห์โลกทัศน์ทางการเมืองของเยาวชนที่มีต่อรัฐบาลไทยช่วง พ.ศ. 2563. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(1), 72.