การพัฒนาสังคมตามหลักสังคหะธรรม 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อนำเสนอบทบาทในด้านการพัฒนาสังคม ตามหลักพัฒนาสังคมของพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเน้นข้อมูลเอกสารวิชาการและข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอแบบความเรียง ผลการศึกษาพบว่าความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมโดยภาพรวมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จึงทำให้ที่มีโครงการและกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการปกครอง ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านอนุรักษ์และพัฒนาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ด้านสาธารณูปการ ด้านการสาธารณส่งเคราะห์ ด้านสังคมสงเคราะห์การพัฒนาด้วยอย่างการส่งเสริมอาชีพแก่คนยากจนในชุมชน ซึ่งโครงการและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการนี้มีความสอดคล้องกับพันธกิจของคณะสงฆ์ โดยเอาสังคหะธรรม 4 ที่เป็นหลักธรรมของพระพุทธเจ้า มาแสดงบทบาทในด้านการพัฒนาสังคม โดยเป็นศูนย์กลางของจิตใจของประชาชน และเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เน้นการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม โดยพระสงฆ์เป็นผู้นำและทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา จึงทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการของวัดอื่น ๆ มีความสามัคคีกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น และสังคมโดยส่วนรวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระเทพ โชตฺตินฺธโน (ถาจ), อําพร เกิดลาภ และธนรัฐ สะอาดเอี่ยม. (2561). วัดแสงบูรพา จังหวัดสุรินทร์: บทบาทของวัดด้านการพัฒนาสังคมตามวิถีพุทธ. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 9(1).
อุเทน สุข ทั่วญาติ และ พระมหาดำเนินฐิตวิริโย. (2559). วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 2(1).
ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2554). สังคหะวัตถุ 4 เครื่องมือการวางแผนและการติดต่อประสานงานสู่ความสําเร็จ, มจร, 3(1).
พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และ วิทยา ทองดี. (2565). สังคมไทยกับการพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3).