วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ <p><em>เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ แบบออนไลน์ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลคำนึงถึงจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการอย่างเคร่งคัด เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ โดยทีมงานกองบรรณาธิการคุณภาพ</em></p> <p><strong>Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารฯ มีนโยบายการตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานสากล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งในและนอกองค์กร<br />สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<br /></span></em></p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความจะพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </span></em></p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review aritcle) บทวิจารณ์หน้งสือ (book review)</span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</em></p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1">สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เอชอาร์ดีไอ จำกัด (Human Resource Development Institute, HRDI Co., Ltd.)</li> </ul> th-TH wullop.hrdi@gmail.com (ดร.วัลลภ ใหญ่ยิ่ง) iidmj.hrdi@gmail.com (นางสาววรัมพร แตงนิ่มงาม) Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คู่มือทำเงินด้วยการลงทุน ฉบับสมบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1220 <p>หนังสือเรื่อง คู่มือทำเงินด้วยการลงทุน ฉบับสมบูรณ์ หนังสือเล่มนี้พูดถึงมุมมองการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จแต่เพียงด้านเดียวเสมอไป แต่ต้องพูดถึงมุมมองการลงทุนที่เป็นจริง มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว มีสมหวังและผิดหวัง มีร่ำรวยและขาดทุนเจ๊งหมดตัว ที่สำคัญในตอนจบของการ์ตูนหลายครั้ง เป็นการเจ็บตัว เจ๊งและขาดทุนสารพัดรูปแบบที่นักลงทุนจะสามารถเจอได้การลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องด้านบวกหรือประสบความสำเร็จเสมอไป แต่พร้อมที่จะยอมรับประสบการณ์ในด้านลบหรือด้านที่แย่และมองว่าประสบการณ์ที่ผิดพลาดและล้มเหลว มีความจำเป็นและสำคัญมากพอกับประสบการณ์ด้านบวก ซึ่งการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนี้อาจมีส่วนช่วยนักลงทุนประสบความสำเร็จมากขึ้น หรืออย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ช่วยเตือนใจไม่ให้นักลงทุนผิดพลาดซ้ำ</p> ดวงพร คงพิกุล; วุฒิชัย ไชยวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1220 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลป่วยที่ได้รับการจัดแนวกระดูกสันหลังและผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1389 <p>บทความวิชาการนี้เป็นกรณีศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น และ 2) เพื่อให้ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดได้รับการพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และมีความพิการน้อยลง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยเป็นเด็กหญิงไทย อายุ 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี ด้วยการวินิจฉัยโรคแรกรับของแพทย์ในอาการ Severe Adolescent Idiopatic Scoliosis และแพทย์ให้การวินิจฉัยครั้งสุดท้าย ว่าเป็น Severe Adolescent Idiopatic Scoliosis แพทย์ทำการรักษาโดยการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง ก่อนการผ่าตัดแพทย์ให้ทำ on halo gravity traction เพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้น หลังการผ่าตัดแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการดูแลรักษาต่อเนื่อง เป็นเวลา 50 วัน เพื่อทำกายภาพบำบัด และฟื้นฟูสภาพ โดยมีพยาบาลให้การดูแลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลของแพทย์</p> <p> ผลการพยาบาลผู้ป่วย พบว่า 1) ก่อนการ on halo gravity traction ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดและมีอาการปวดสันหลังน้อยลง ผลการทำ pelvic traction มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีความเข้าใจและยอมรับในแผนการรักษา ผู้ป่วยและญาติได้ลงนามในเอกสารยินยอมให้การผ่าตัด 2) ขณะ on halo gravity traction ผู้ป่วยไม่มีอาการชาหรืออ่อนแรง สามารถอ้าปากและกลอกลูกตาได้ มีอาการปวดสันหลังน้อยลงเมื่อได้รับยา morphine และพาราเซตามอล ไม่มีแผลกดทับ ไม่มีเชื้อราตามผิวหนัง แขนและขามีกำลังดี กล้ามเนื้อไม่ลีบและไม่มีข้อติด 3) ก่อนการผ่าตัด PSF T3-L3 with IONM ผู้ป่วยมีความรู้มีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดและยอมรับในการผ่าตัด 4) หลังการผ่าตัด PSF T3-L3 with IONM ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธี General Anesthesia รู้สึกตัวดี ไม่มีแผล ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน อาการปวดทุเลาลง กำลังแขน-ขาดี ไม่มีอาการชาหรืออ่อนแรง ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน สามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองบนเตียงได้ดีขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร การล้างหน้าแปรงฟัน 5) การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยสามารถออกกกำลังกายโดยการเกร็งกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อขา และกระดกข้อเท้าได้ แผลไม่มี discharge ไม่มีซึมและไม่มีไข้ และ 6) ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้านตามหลัก D-Method ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในคำแนะนำ ตอบคำถามได้ถูกต้อง และสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องทุกข้อ</p> จีระศักดิ์ ทัพผา Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1389 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 การปรับตัวของชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1427 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลาง ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลาง อำเภอเมือง อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม&nbsp; และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล และจำแนกข้อมูล โดยใช้กระบวนการและวิธีวิจัยของการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสภาวะการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปและมีการปรับตัวตามสถานการณ์นั้น เรียนรู้แก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ การจัดการ การปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการเพื่อความอยู่รอดสอดคล้องกับวิถีที่เปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางมีลักษณะความสันพันธ์แบบผสมผสานและมีส่วนร่วมสนับสนุนกันในการสืบทอดอาชีพทำสวนมะพร้าว และด้วยความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างยาวนานเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เข้าใจกัน ช่วยเหลือกันเกื้อกูลเพื่อให้ผ่านวิกฤตในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการเกื้อหนุนกันเพื่อปรับตัวพัฒนาสู่การผลิตในระบบห่วงโซ่อุปทาน</p> <p>การปรับตัวของชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางเป็นการปรับตัวให้อยู่รอดในยุค Ai-Robotics พ่อค้าคนกลางมีการปรับตัวให้สอดคล้องมากกว่าชาวสวนมะพร้าว ชาวสวนปรับตัวน้อยและยังเลือกใช้แนวทางแบบเดิมในการทำสวนมะพร้าว ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวให้สามารถแข่งขันและมีความก้าวหน้ามั่นคงทางอาชีพตลอดจนส่งเสริมโครงการกิจกรรมเพื่อสร้างการตื่นรู้กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก</p> รมย์ธีรา น้อยประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1427 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบทางสังคม: เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนโครงการก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1449 <p>การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ต่อสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยไม่เพียงแต่จำเป็นต้องหาแนวทางการป้องกันในทางวิศวกรรมศาสตร์แบบโครงสร้างแข็ง หรือโครงสร้างอ่อน รูปแบบการสร้างระบบนิเวศภายใต้แนวทางพื้นฐานทางธรรมชาติที่เหมาะสมแต่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากแรงคัดค้านของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาศัยในพื้นที่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมในระดับชุมชน โดยการวิจัยการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการดำรงชีวิต (Live) ด้านการประกอบอาชีพ (Work) และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Play) ของโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงบวกส่วนใหญ่เกิดในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว และการนันทนาการ ในทางกลับกันการเปลี่ยนทางสังคมเชิงลบส่วนใหญ่เกิดในด้านการดำรงชีวิต และด้านการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพประมงในพื้นที่ ที่มีวิถีชีวิตและใช้ประโยชน์ตลิ่งริมทะเลในการประกอบอาชีพ ข้อค้นพบในครั้งนี้ได้สนับสนุนในการนำเสนอทางเลือกในการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยแบบผสมผสานโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเลี้ยวเบนของคลื่น ร่วมกันกับการทำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่อันทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders' Shared Responsibilities)</p> อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี, วัชรพงศ์ หนุมาศ Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1449 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1464 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะหลักในการ ปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาปฏิบัติงานในเทศบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวค่าโดยค่าสถิติ F-test (One Way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ แบบ Scheffe ผลการศึกษา พบว่า 1. พนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม และด้านการการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน และด้านการบริการเป็นเลิศ</p> <ol start="2"> <li>ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีสมรรถนะหลักในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และสมรรถนะหลักรายด้านที่มี เพศ อายุ ที่แตกต่างกัน มีสมรรถนะหลักรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> พรรณวดี สุวรรณสิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1464 Mon, 14 Oct 2024 00:00:00 +0700