วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ
<p><em>เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ แบบออนไลน์ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลคำนึงถึงจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการอย่างเคร่งคัด เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ โดยทีมงานกองบรรณาธิการคุณภาพ</em></p> <p><strong>Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารฯ มีนโยบายการตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานสากล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งในและนอกองค์กร<br />สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<br /></span></em></p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความจะพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </span></em></p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review aritcle) บทวิจารณ์หน้งสือ (book review)</span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</em></p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1">สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เอชอาร์ดีไอ จำกัด (Human Resource Development Institute, HRDI Co., Ltd.)</li> </ul>สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(บริษัท เอชอาร์ดีไอจำกัด))th-THวารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ3027-6985ปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราส่วนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1506
<p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและอัตราส่วนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเน้นกรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย อัตราราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (PE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) ราคาน้ำมัน (OIL) ราคาทองคำ (GOLD) และอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (EXC) ระหว่างเดือนมกราคม 2562 ถึง เดือนธันวาคม 2566 ระยะเวลา 5 ปี จำนวน 60 เดือน การวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และนำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการถดถอยเชิงพหุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ราคาน้ำมัน (OIL) มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากรมากที่สุด รองลงมาคือ อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) และราคาทองคำ (GOLD) ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวแปรทั้งสามมีอิทธิพลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ อัตราราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่พบว่ามีอิทธิพลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร ผลการวิจัยยังสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่พบว่าราคาน้ำมันมีความสัมพันธ์เชิงลบกับราคาหลักทรัพย์ เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร นอกจากนี้ อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชียังเป็นตัวบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานของบริษัท และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน ส่วนราคาทองคำนั้นแม้จะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ แต่ความสัมพันธ์นี้มีความซับซ้อนและขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินอื่นๆ</p> <p>การศึกษาครั้งนี้มีส่วนช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุน และต่อผู้กำหนดนโยบายในการกำกับดูแลตลาดทุน นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางสำหรับงานวิจัยในอนาคตที่อาจศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ หรือศึกษาผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน</p>วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-022025-01-0251113ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจร่วมกับการดูแลด้านจิตสังคมต่อความเข้มแข็งของจิตใจในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1576
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งของจิตใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจร่วมกับการดูแลด้านจิตสังคม และความเข้มแข็งของจิตใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายที่มารับบริการในโรงพยาบาลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 30 คน จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้านเพศและอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจร่วมกับการดูแลด้านจิตสังคม และแบบประเมินพลังสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.749 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเข้มแข็งของจิตใจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และมีความเข้มแข็งของจิตใจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>สรุปผลการวิจัย ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจร่วมกับการดูแลด้านจิตสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลับไปมีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละของผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ลดลง</p> <p><strong>ค</strong><strong>ำ</strong><strong>ส</strong><strong>ำ</strong><strong>คัญ </strong><strong>:</strong> ความเข้มแข็งของจิตใจ การดูแลด้านจิตสังคม ผู้พยายามฆ่าตัวตาย</p>กนกภรณ์ ทองคุ้ม
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-022025-01-02511427การประเมินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ จังหวัดเพชรบุรี
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1690
<p>งานวิจัยประเมินผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโครงการ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติจังหวัดเพชรบุรี พื้นที่เป้าหมาย 13 ชุมชน จาก 13 หมู่บ้าน ของ 8 อำเภอ ในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ซึ่งใช้เก็บข้อมูลจากคณะทำงานและชุดปฏิบัติการของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยประเมินผล พบว่า การประเมินผลโครงการ เป็นไปตามตัวชี้วัด 4 ด้าน 16 ประเด็น 16 ตัวชี้วัด กล่าวคือ ด้านบริบท 2 ประเด็น 2 ตัวชี้วัด, ด้านปัจจัยนำเข้า 4 ประเด็น 4 ตัวชี้วัด, ด้านกระบวนการ 6 ประเด็น 6 ตัวชี้วัด และด้านผลผลิต 4 ประเด็น 4 ตัวชี้วัด สรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ ผ่าน 13 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 81.25 เป็นผลการประเมินโครงการในภาพรวม อยู่ในเกณฑ์มีประสิทธิผลระดับสูง และพบว่ารูปแบบการบริหารโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติทุกจังหวัด งานวิจัยประเมินผลนี้มีข้อเสนอแนะ 3 ประการ ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะการนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการทำการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป</p>เชาว์ ทองมา
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-022025-01-02512847ผลการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1390
<p>The objectives of this study were to examine the effectiveness of nursing care stroke patients with also diabetes and hypertension according to the doctor nursing diagnosis. This was a descriptive study of one stroke patient with diabetes and hypertension who was admitted in Rajavithi Hospital. He was a Thai male patient with 60 year of age who has dizziness, speaks slurred and slower, a distorted face, a weak right limb, and a staggering walk. He was first diagnosed with a transient ischemic attack. The doctor prescribed RT-PA in primary treatment. The brain was sent to EKG and CT brain examination, and a new diagnosis was given as ischemic stroke with left middle cerebral artery. The doctor admitted him for further treatment in the hospital to do physical therapy and rehabilitation. There were nurses providing treatment and nursing according to the doctor's nine nursing diagnoses.</p> <p> The results of nursing care for patients found that 1) after receiving anticoagulant medication, the patient was awake and feeling better. 2) The patient had no headache, no bleeding points were found on the body, and vital signs were normal. 3) The patient has grade 5 strength level in the right limb and the left limb. 4) The patient had no accidental falls. 5) The patients do their daily activities more and relatives providing care and assistance. 6) The patients and relatives participate in decisions regarding treatment and rehabilitation, the self-care of patients and relatives was in accordance with the medical treatment plan. 7) The patient has normal consciousness, no severe headaches, no convulsions, no nausea, vomiting, or dizziness, speaking clearly, no distorted face, and no weakness or stagger in the right limb. 8) The patients and relatives' expressions of anxiety eased, they smiled, talked well, were in a good mood, were not irritated, and cooperated well in various activities. and 9) The patients and relatives understand about stroke, diabetes, hypertension, and atherosclerosis, and the patient will take medicine as prescribed by the doctor and have follow-up examinations when returning to recuperate at home.</p>สุวัฒนี จันทร์ศักดา
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-022025-01-02514863กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทจากการใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1391
<p>The objectives of case study were to 1) nursing care schizophrenia patient according to the doctor's nursing diagnoses, and 2) evaluated effectiveness of schizophrenia patient nursing. This was a descriptive study to treatment Thai male patient with 29 years of age who was admitted in Rajavithi Hospital on October 5, 2021, by voluntary system. The patient was irritated. restlessness, confused conversation, not making eye contact, cross-eyed during conversation. The first diagnosis by the doctor that patient had a mental disorder and had behavior what happened by using the other nervous system stimulants including coffee. The patient got treatment and rehabilitation at Rajavithi Hospital until September 5, 2022, to 9 times. There were nurses providing treatment and nursing according to the doctor's seven nursing diagnoses.</p> <p> The results of nursing care found that 1) The patient has no aggressive behavior toward himself and others, could tell how to appropriate self-thoughts and emotions management, higher self-confidence and accept self-worth. 2) The patient was able to explain the methamphetamine side effects, and told how to self-care to don't get addicted again at right. 3) The patient was learning and understanding dangers of methamphetamine use, correctly answer questions about methamphetamine dangers and effects at right. 4) The patient does not side effects symptom from use of psychiatric drugs, including no drowsiness, no hand shaking, no dry mouth and no dry throat, able to take normally daily activities and take medicine according to the doctor's treatment plan. 5) The patient sleeps normally by takes about 5-6 hours to sleep at night. 6) The patient gave continuous treatment cooperation, changed behavior better, cannot control emotions sometime, could adapt faster with help from nurses, and accept assistance 7) The patient and relatives understood the nurses' advice and was ready to self-care when at home.</p>ศิริวรรณ ชีโพธิ์
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-022025-01-02516478