https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/issue/feed วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ 2024-06-04T16:56:04+07:00 ดร.วัลลภ ใหญ่ยิ่ง wullop.hrdi@gmail.com Open Journal Systems <p><em>เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ แบบออนไลน์ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลคำนึงถึงจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการอย่างเคร่งคัด เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ โดยทีมงานกองบรรณาธิการคุณภาพ</em></p> <p><strong>Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารฯ มีนโยบายการตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ที่มีคุณภาพสูงและมีมาตรฐานสากล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งในและนอกองค์กร<br />สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<br /></span></em></p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความจะพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) </span></em></p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review aritcle) บทวิจารณ์หน้งสือ (book review)</span></em></p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี</span></em></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></em></li> </ul> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><em><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></em></li> </ul> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</em></p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li style="font-weight: 400;" aria-level="1">สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เอชอาร์ดีไอ จำกัด (Human Resource Development Institute, HRDI Co., Ltd.)</li> </ul> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/656 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19กรณีศึกษาองค์การบริการส่วนตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2024-02-15T11:14:47+07:00 วิริยะ พานิชกิจ jes-c@hotmail.co.th เฉลิมพร เย็นเยือก chalermporn.y@rsu.ac.th <h1 id="isPasted">การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 2) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 106 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ประกอบการนำเสนอผลสรุปด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</h1> <h1>1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านความถูกต้อง ชอบธรรม และจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.97 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .409</h1> <h1>2. ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .433</h1> <h1>3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับค่อนข้างต่ำถึงระดับค่อนข้างสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 </h1> <p>หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ และ แนวปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชี่ยวชาญให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1196 การประเมินความยั่งยืนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน: วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี 2024-05-21T08:39:29+07:00 อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี ittisakji@gmail.com สุรัตน์ เพชรนิล surat.pet@kmutt.ac.th ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ passanan.ass@kmutt.ac.th ปภามญชุ์ ซีประเสริฐ prapamon.seep@kmutt.ac.th <p>โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งระดับผู้นำชุมชน และผู้ปฏิบัติการ ผ่านการประยุกต์ใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก The GSTC Destination Criteria (GSTC - D) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ เกณฑ์ดังกล่าวมีส่วนช่วยในการยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก The World Tourism Organization (UNWTO) ให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นระบบในการออกแบบเครื่องมือในการประเมิน</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1097 การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2024-03-18T10:43:08+07:00 ดวงฤทัย พงศ์ทรัพย์การุณ aom.doung@hotmail.com <p>พยาบาลวิชาชีพมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะพยาบาลเป็นผู้ให้การพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง และมีความเป็นองค์การขนาดใหญ่ เป็นกำลังสำคัญหลักที่จะพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบบริการสุขภาพของไทย บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พร้อมนำเสนอแนวคิด และแนวทางในการพัฒนาตนเอง ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ วินิจฉัยตนเอง กำหนดเป้าหมาย หาทรัพยากรที่เหมาะสม หาเพื่อน ความอดทนพยายาม ประเมินผล และทฤษฎีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเป็นบุคคลที่รอบรู้ มีแบบแผนความคิด มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม รวมถึงคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถนำไปพัฒนาตนเองและพยายามผลักดันให้องค์การของตนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้ การวินิจฉัยตนเอง การกำหนดเป้าหมาย การหาทรัพยากรที่เหมาะสม การหาเพื่อน ความอดทนและพยายาม การประเมินผล เพื่อก้าวตามให้ทันกับสังคมในยุคนี้ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนด้านภาวะสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของชีวิตได้อย่างครบถ้วน บูรณาการร่วมกับแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการเป็นบุคคลที่รอบรู้ การมีแบบแผนความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้เป็นทีม และการคิดอย่างเป็นระบบ ในการสร้างผลงาน และขยายขอบเขตความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1121 กลไกการพัฒนาต่อยอดสมรรถนะบุคคลสู่ภูมิปัญญาของชุมชน 2024-05-16T08:49:51+07:00 ดุลภาค มณีอินทร์ dr.tamm@hotmail.com <p>สมรรถนะ (Competency) ของบุคคลในองค์การ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ความรู้ ทักษะ ความสามารถ แรงจูงใจ เพื่อทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของตำแหน่งงานหรือลักษณะงานนั้นๆ ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงาน ศักยภาพในการทำงานและการเติบโตของพนักงานในองค์การอย่างกว้างขวาง และในส่วนของชุมชนเองก็มีการพูดถึง “ภูมิปัญญา” ซึ่งหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อและศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทุกมิติ ทั้งในมิติสิ่งที่เหนือธรรมชาติ มิติธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมิติของคน ชุมชนและสังคม ในบริบทของการเกื้อกูลกันระหว่างองค์การท้องถิ่นกับชุมชน เราจะมีกลไกในการพัฒนาต่อยอดสมรรถนะของบุคคลในองค์การที่อยู่ในท้องถิ่นไปเป็นภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างไร</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1248 การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยแนวคิดความครอบคลุมทางสังคม 2024-05-09T09:10:36+07:00 ทิพย์ปริญญ์ ปัญญามี tipparin.pa@rmuti.ac.th <p>แนวคิดความครอบคลุมทางสังคมเป็นแนวคิดเชิงบวกอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนในสังคมไม่ควรถูกมองข้ามและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่มีประชาชนกลุ่มใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่แบ่งแยกคนในสังคม ไม่ว่าจะด้วยเรื่อง เพศ อายุ ความทุพพลภาพ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด สภาพทางเศรษฐกิจ หรือสถานะอื่น ๆ ในสังคม คนทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม เสมอภาค และยุติธรรม ภายใต้กรอบกฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่ทั่วโลกต้องการบรรลุภายในปี 2573 ดังนั้นบทความวิชาการนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้รวบรวมแนวคิดที่สำคัญ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้แบ่งเนื้อหาสำคัญออกเป็น 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาที่ยั่งยืน 2) พัฒนาการของแนวคิดการกีดกันกันทางสังคมสู่ความครอบคลุมทางสังคม 3) การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยแนวคิดความครอบคลุมทางสังคม 4) การนำเอาไปใช้ประโยชน์ 5) สรุป ซึ่งข้อมูลจะเป็นประโยชน์แก่นักวิชาการ หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ที่กำลังพยายามขับเคลื่อนการพัฒนาโดยแนวคิดความครอบคลุมทางสังคม จนทำให้สามารถใช้ข้อมูลกำหนดนโยบายสาธารณะและสร้างโอกาสให้คนในสังคมเกิดความเท่าเทียมทุกพื้นที่อย่างแท้จริง&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> การพัฒนาที่ยั่งยืน, ความครอบคลุมทางสังคม</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ