วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI <p><strong>วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ </strong></p> <p><strong>ISSN : 2822-0056(Print)</strong></p> th-TH [email protected] (Asst.Prof. Dr.Thinnakorn Cha-umpong) [email protected] (Mr.Rames Channarong) Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา กับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1015 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครู และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 310 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 32 คน และครูจำนวน 278 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูแต่ละสหวิทยาเขต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเชื่อมั่น และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคมรองลงมา คือ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการและด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 2) ความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเต็มใจทุ่มเทให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านความปรารถนาที่จะคงอยู่ในสถานศึกษา ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเชื่อมั่น การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r =.761** ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> กิ่งดาว กุลชา, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1015 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1019 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารของสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 306 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 39 คน และครู 267 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม 2) ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคิดเชิงระบบ รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านรูปแบบการคิด และด้านเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบุคคลแห่งการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูงมาก (r =.813**)</p> นภาพร จันทร์บุตร, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1019 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1034 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ครู จำนวน 175 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าศึกษา</p> <p> 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครแม่สอด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก พบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรทบทวนวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 2) ยึดหลักการมีส่วนรวมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 3) เป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดและทำงานเชิงบวก 4) มอบหมายงานการปฏิบัติตามกลยุทธ์อย่างเหมาะสม 5) วางแผนการประเมินการดำเนินงานตามกลยุทธ์ </p> มิตร์ ชื่นสิน, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1034 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1036 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 25 คน และครูผู้สอนจำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา(IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความยืดหยุ่น รองลงมา คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> เรวัต ทองดี, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1036 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1044 <h1>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 และ 2) เปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จําแนกตามคุณวุฒิทางลูกเสือ ประสบการณทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองการลูกเสือโรงเรียน จำนวน 285 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครซี่ และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความเที่ยง 0.99 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการศึกษาพบว่า</h1> <h1> 1)ระดับปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงที่สุด คือ ด้านการเงิน สื่อและวัสดุ ลูกเสือ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีปัญหาต่ำที่สุด คือ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานกองลูกเสือโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จําแนกตามคุณวุฒิทางลูกเสือ ประสบการณการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน</h1> ว่าที่ร้อยตรี ณัฐ มีแสง, ศุภชัย ทวี, ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1044 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) เพื่อการเสริมสร้างทักษะ การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จังหวัดลำพูน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1046 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) และ 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ประชากรประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ และโรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ จำนวน 6 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) สภาพปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ผ่านการบริหารจัดการด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2. ด้านการออกแบบการเรียนรู้ 3. ด้านการจัดการเรียนรู้ <br />4. ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ 5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ <br />3) ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563-2564 สรุปภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2565 สรุปภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</p> สายฝน ไทยกรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1046 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความพร้อมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1071 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพร้อมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 306 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 278 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 โดยวิเคราะห์ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ความพร้อมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพร้อมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพภายใน ได้แก่ 1) วางแผนและดำเนินการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น 2) ใช้หลักบริหารแบบมีส่วนร่วมและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานและส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งเสริมการพัฒนาครูให้มีความรู้จากสื่อที่หลากหลายมากขึ้น</p> วัศพล ชุตินทราศรี , ธิดาวัลย์ อุ่นกอง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1071 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1074 <h1>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสุขภาพองค์การ 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพภาพองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</h1> <h1> ผลการวิจัยพบว่า 1) สุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านเป้าหมาย ด้านขวัญกำลังใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความสามัคคี และด้านการสนับสนุนทรัพยากร ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงที่ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการบุคลากร ด้านการบริหารจัดการศึกษาและคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีความสัมพันธ์เชิงบวกที่ระดับ .84 อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</h1> ภรัญญู ณ ลำพูน, ธิดาวัลย์ อุ่นกอง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1074 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1047 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา และเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กำหนดขนาดโดยการใช้ตารางเครซี่แอนด์มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67 - 1.00 และมีค่าความเที่ยง 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาพบความแตกต่างจึงทำการทดสอบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1) ปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านการประเมินผลและการรายงาน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการควบคุมงบประมาณ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีปัญหาต่ำที่สุดคือด้านการจัดทำงบประมาณ ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบันและระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 เมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยภาพรวม พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบันต่ำกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาน้อยกว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งปัจจุบัน 5 – 10 ปีและมากกว่า 10 ปี</p> เขมจิรา อินตระกูล, สายทิตย์ ยะฟู, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1047 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1081 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ <br />2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 คน และครู จำนวน 276 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 และค่าความเที่ยง 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีทักษะสูงสุดคือทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากและทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีทักษะต่ำสุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันและจำแนกตามประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำนวน 2 คู่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง น้อยกว่า 6 ปี กับ 6-10 ปี และผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง น้อยกว่า 6 ปี กับตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไป</p> อริสา คงกะพัน, สาธร ทรัพย์รวงทอง, สุพัฒนา หอมบุปผา Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/1081 Sun, 28 Apr 2024 00:00:00 +0700