วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI <p><strong>วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ </strong></p> <p><strong>ISSN : 2822-0056(Print)</strong></p> Educational Administration and Innovation Journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University th-TH วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา 2822-0056 ฉากทัศน์แห่งอนาคตการศึกษา จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/759 <p>การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้กำหนดทิศทางด้วยวิสัยทัศน์ที่มองภาพอนาคตในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาซึ่งเป็นหนึ่งตัววัดผล และชี้นำความเจริญของชาติ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรม พ.ศ. 2562 การศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาอย่างอิสระตามบริบทของสังคม และจังหวัดเชียงใหม่ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์แต่ละพื้นที่ที่โดดเด่น เป็นจังหวัดที่ได้รับประกาศกำหนดให้เป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรม โดยมีวิสัยทัศน์ ว่า “เชียงใหม่..นครแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีความสุข” ส่งผลต่อการจัดการศึกษามีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีสถานศึกษา 104 แห่งที่เข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำให้ผู้บริหารในสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นภาพอนาคตในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ อำเภอแม่แจ่มเป็นอำเภอที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีสถานศึกษาเข้าร่วม จำนวน 12 โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจแตกต่างกัน ส่งผลให้แต่ละสถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไปสู่คุณภาพ</p> ปรัชยา สมนา ขณิษฐา อินทธิรา คณิศร ไชยมงคล Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 43 51 10.2822.EAI.2023759 การพัฒนาแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/484 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การพัฒนาแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนโรงเรียนอนุบาลศรีสำโรง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) จำนวนนักเรียนอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่อง คิดเป็นร้อยละ 15.65 และนักเรียนเขียนไม่ได้เขียนไม่คล่อง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 19.13 และคำที่เป็นปัญหาด้านการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียนมีจำนวน 350 คำ ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของคำ ได้ 6 ชุด พบว่าคำที่นักเรียนอ่านไม่ออกอ่านไม่คล่องเขียนไม่ได้เขียนไม่คล่องมากที่สุดคือคำราชาศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 26.00 คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 24.80 คำสะกดไม่ตรงตามมาตรา คิดเป็นร้อยละ 24.00 คำควบกล้ำ คิดเป็นร้อยละ 23.20 คำตัวการันต์ คิดเป็นร้อยละ 22.82 และคำ รร (ร หัน) คิดเป็นร้อยละ 20.00 2) แบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.72 ทั้ง 6 ชุด เมื่อนำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 12 คน ได้ประสิทธิภาพ 85.76/83.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการทดลองใช้แบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ได้ประสิทธิภาพของแบบฝึกของกลุ่มทดลองมีค่าเท่ากับ 88.18/86.52 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ครูผู้ใช้และนักเรียนกลุ่มทดลองเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> กัณฑิมา เผือกใต้ ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์ Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 1 14 10.2822.EAI.2023484 การพัฒนาระบบส่งงานออนไลน์ กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/515 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของระบบส่งงานออนไลน์ของกลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา เพื่อประเมินความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อระบบส่งงานออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ชั้นปีที่ 5 จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบส่งงานออนไลน์ แบบประเมินความเหมาะสมของระบบส่งงานออนไลน์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อระบบส่งงานออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ระบบส่งงานออนไลน์ กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา มีคุณภาพระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.72, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านภาษาและเนื้อหา (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.83, S.D. = 0.19) รองลงมา ได้แก่ ด้านการนำไปใช้และระบบปฏิบัติการ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.78, S.D. = 0.32) และด้านการออกแบบ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.61, S.D. = 0.46) ตามลำดับ 2) นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา มีความพึงพอใจต่อระบบส่งงานออนไลน์ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.84, S.D. = 0.77) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านภาษาและเนื้อหา อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.90, S.D. = 0.78) รองลงมา ได้แก่ ด้านการนำไปใช้และระบบปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.84, S.D. = 0.74) และด้านการออกแบบ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.82, S.D. = 0.76) ตามลำดับ</p> ศศิธร เทพรังสาร วราภรณ์ สังวาลย์ ธนพล เชื้อเมืองพาน ธิดาวัลย์ อุ่นกอง Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 15 31 10.2822.EAI.2023515 ความสอดคล้องระหว่างอัตลักษณ์ผู้เรียนและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/758 <div> <p class="paragraph"><span class="normaltextrun"><span lang="TH"> </span></span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างอัตลักษณ์ผู้เรียนและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติพ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเอกสาร คณะผู้วิจัยศึกษาประชากรทั้งหมด คือ เอกสารระดับทุติยภูมิของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 34 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างอัตลักษณ์ผู้เรียนและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติภาคบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) กำหนดอัตลักษณ์ที่มีความสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 มากที่สุด ได้แก่ ด้านผู้เรียนรู้ (การรู้จักตนเองและผู้อื่น) คิดเป็นร้อยละ 97.05 รองลงมา ได้แก่ ด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง (ความเชื่อมั่นในความถูกต้อง) คิดเป็นร้อยละ 91.17 และด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง (ความภาคภูมิในความเป็นไทย) คิดเป็นร้อยละ 85.29 ตามลำดับ ทั้งนี้ด้านที่น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (การคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีความรู้ทางดิจิทัล) คิดเป็นร้อยละ 8.82 <br />2) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)กำหนดอัตลักษณ์ที่มีความสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 มากที่สุด ได้แก่ ด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง (ความเชื่อมั่นในความเท่าเทียมกัน มีจิตอาสา มีจริยธรรม) คิดเป็นร้อยละ 76.47 รองลงมา ได้แก่ ด้านพลเมืองที่เข้มแข็ง (การเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น ร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืน) คิดเป็นร้อยละ 73.52 และด้านผู้เรียนรู้ (การชี้นำการเรียนรู้ด้วยตนเอง) คิดเป็นร้อยละ 32.35 ตามลำดับ ทั้งนี้ด้านที่น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (มีทักษะการสะท้อนคิด) คิดเป็นร้อยละ 5.88</p> <p class="paragraph"><span class="normaltextrun"><span lang="TH"> </span></span></p> </div> เฉลิมพล พาตา อภิสิทธิ์ แก้วฟู Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 32 42 10.2822.EAI.2023758 การพัฒนารูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/EAI/article/view/776 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” โดยศึกษาความคิดเห็นในการดำเนินการ ศึกษาประสิทธิผล และศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน ตัวแทนนักเรียน จำนวน 10 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน และตัวแทนผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ในปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 2) แบบประเมินความคิดเห็นในการดำเนินการตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 3) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน 4) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติกลไกการบริหารจัดการศึกษา มิติการมีส่วนร่วมของชุมชน และมิติการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละมิติมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กัน โดยใช้กลวิธีดำเนินการมีส่วนร่วมตามหลักบริหาร PDCA และมีผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยูในระดับมาก 2) การทดลองใช้รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชน โรงเรียนบ้านเมืองเก่า “ศรีอินทราทิตย์” พบว่า ผลการประเมินความคิดเห็นในการดำเนินการตามรูปแบบ กลไกการบริหารจัดการศึกษาบนฐานนวัตกรรมชุมชนมีความคิดเห็นในระดับมาก ผลการประเมินประสิทธิผลมีความคิดเห็นในระดับมาก และผลการสัมภาษณ์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน ความพร้อมของครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา การทำงานเป็นทีม และทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานมีเพียงพอ</p> อุไรวรรณ โพธิ์นาค Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 52 64 10.2822.EAI.2023776